ตัวเล็ก โฟกัสเร็ว ดีไซน์สวย ไฟล์ปานกลาง จอเซลฟี่ล่าง
ประโยคสรุปสั้นๆ หากพูดถึงกล้องรุ่นล่างจาก Olympus ในรุ่น PEN EPL-8 ซึ่งจะเป็นกล้องที่ทีมงาน เดอะพีคโฟโต้ จะมาพูดกันในบทความนี้ครับ
สำหรับประวัติของกล้อง Olympus PEN ตัวนี้ หลายๆคนคงสงสัยกับที่มาของชื่อรุ่นตัวนี้ “Pen” มันเกี่ยวกับอะไรกับกล้อง ซึ่งการจะหาคำตอบต้องย้อนไปถึงสมัยเริ่มออกแบบกล้องในตระกูล PEN ซึ่งคำตอบก็คือ ปากกานั้นแหละครับ ผู้ออกแบบต้องการให้กล้องตัวนี้สามารถพกพาง่าย หยิบออกมาใช้เมื่อไหร่ก็ได้ ราวกับปากกาที่เน็บไว้บนกระเป๋าเสื้อ!
โดย Olympus EPL-8 เป็นกล้องที่เปิดตัวมาได้สักพักแล้วครับ ตั้งแต่กันยายนปี 2559 ซึ่งหลายๆคนอาจจะพอคุ้นหน้าคุ้นตากล้องตัวนี้มาบ้างแล้ว
สำหรับสิ่งที่เปลื่ยนแปลงเมื่อเทียบกับรุ่นที่แล้ว (EPL-7) มีไม่ค่อยเยอะมากนัก หลักๆ ก็จะเป็นในเรื่องของดีไซน์ตัวกล้องที่ เหลามาใหม่ ดูทันสมัยขึ้น และ ปรับปรุงในเรื่องของฟังก์ชั่นการเซลฟี่เป็นหลัก
ทำความรู้จักกับ Olympus EPL-8
ตัวกล้อง Olympus EPL-8 เป็นแบบ Mirrorless ซึ่งสามารถเปลื่ยนเลนส์ได้ โดยเลนส์สามารถใช้ร่วมกับเลนส์ยี่ห้อ Panasonic ได้ทำให้มีตัวเลือกที่เยอะขึ้น
โดยตัวกล้อง Olympus EPL-8 ถือว่าเป็นกล้องขนาดเล็ก ไม่มีช่องมองภาพ มีเพียงจอที่รองรับระบบสัมผัสขนาด 3 นิ้วเท่านั้น ซึ่งตามฉบับกล้องเซลฟี่ ตัวจอจะสามารถพับมาด้านหน้าได้ แต่ตัวนี้มีความแปลกอยู่ที่จะเป็นแบบจอพับล่าง ซึ่งทำให้เวลาเซลฟี่ตามองจอจะรู้สึกธรรมชาติมากกว่าจอพับด้านบน แต่ต้องแลกมากับการจับถือที่ค่อนข้างลำบาก
ตัวกล้องมาพร้อมกับแฟลชแยก ที่สามารถปรับระดับได้ ในส่วนของพอร์ตการเชื่อมต่อ ก็เป็นเบสิคของกล้องรุ่นล่าง โดยมีพอร์ท USB และ HDMI สิ่งที่น่าเสียดายนั้นก็คือ รุ่นนี้ยังไม่รองรับการชาร์จผ่าน Power Bank
การควบคุม
การควบคุมตัวกล้อง Olympus EPL-8 นั้น เนื่องจากเป็นกล้องเซลฟี่ขนาดเล็ก ซึ่งเหมาะกับคนที่มีมือไม่ใหญ่มาก แน่นอนละครับเน้นทำออกมาให้สาวๆเซลฟี่โดยเฉพาะ แต่ใครจะเอามาถ่ายเล่นทั่วไปๆก็ไม่ได้ผิดกติกาแต่อย่างใด
ตัวกล้องมีเพียง 1 Dial (ปุ่มที่สามารถหมุนได้) บริเวณปุ่มชัตเตอร์ ทำให้การปรับค่าต่างๆ ของกล้องตัวนี้อาจจะต้องกดหลายปุ่มหน่อยครับ แต่การถ่ายทั่วไปสำหรับกล้องตัวนี้ ผมก็ใช้ตั้งค่า Auto เป็นหลัก ในส่วนของปุ่มเปิดปิดก็อยู่ในต่ำแหน่งที่กดได้ง่าย เวลาในการเปิดเครื่องก็ไม่ได้นานจนพลาดช็อตเด็ดๆครับ
เนื่องจากเป็นกล้องขนาดเล็กทำให้อาจจะไม่มีปุ่มเฉพาะค่าต่างๆมากนัก ทำให้การปรับค่าต้องมารวมอยู่ใน ศูนย์รวมการตั้งค่า ซึ่งเปิดง่ายๆ ด้วยการกดปุ่ม OK ก็จะสามารถปรับตั้งค่าที่ใช้บ่อยๆได้ทั้งหมดเลย อาทิ ค่า ISO White Balances หรือ อัตราส่วนภาพ
การใช้งานในชีวิตประจำวัน
พื้นฐานของกล้อง Olympus EPL-8 เป็นกล้องที่เน้นพกพา ถ่ายเล่นๆทั่วไป โดยเฉพาะการเซลฟี่ ในรีวิวนี้ผมเลยจะมาพูดถึงการใช้งานถ่ายในชีวิตประจำวันครับ
โดยตัวกล้องหากซื้อมาพร้อมกับเลนส์ Kits ก็จะได้เป็นเลนส์ 14-42 mm ซึ่งเป็นระยะในการถ่ายทั่วๆไปสามารถถ่ายได้ตั้งแต่มุมกว้างจนถึงมุมทีแคบขึ้นมา ตัวเลนส์เป็นเลนส์ไฟฟ้า ทำให้เวลาซูมจะใช้มอเตอร์ซูม ซึ่งมีประโยชน์มากเมื่อถ่ายวิดีโอ จะทำให้เวลาซูมเมื่อถ่ายวิดีโอออกมาได้สมูธขึ้น แต่หากถ่ายภาพนิ่งบางทีอาจจะช้าไปบ้างหากต้องการรีบซูม
สำหรับคนที่ต้องการ “หน้าชัดหลังเบลอ” ก็สามารถทำได้ด้วยเลนส์ Kits แต่หากรู้สึกว่าละลายไม่พอใจก็สามารถซื้อเลนส์เพิ่มได้ โดย System ของ Micro Fours Thirds ในปัจจุบัน ก็ค่อนข้างครบอยู่แล้วครับ
Olympus EPL-8 ใช้เซ็นเซอร์ความละเอียด 16.1 ล้านพิกเซล สามารถดัน ISO ได้ระหว่าง 100-25600 ซึ่งก็เรียกได้ว่าเหลือใช้ ถึงแม้จะใส่เลนส์ Kits ความเร็วชัตเตอร์ทำได้เร็วสูงสุดที่ 1/4000 วินาที และรองรับโหมด Live Composite ซึ่งดีมากๆ ทำให้การถ่ายภาพโหมดกลางคืนสามารถทำได้ง่ายกว่าเดิม (สำหรับการลาก Speed Shutter นานๆ
สำหรับการโฟกัส เนื่องด้วยกล้องตัวนี้สามารถ ทัชสกรีนได้ที่หน้าจอได้ ทำให้การโฟกัสสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการจิ้มลงที่หน้าจอ ซึ่ง Olympus EPL-8 ได้ให้ ระบบออโต้โฟกัสเป็นแบบ Contrast Detection ทั้งหมด 81จุด
จุดเด่นของกล้อง Olympus คงหนีไม่พ้น “กันสั่น 3 แกน” ที่สามารถใช้งานได้จริง ซึ่งในรุ่นล่างตัวนี้ก็ไม่ได้มีการตัดออกแต่อย่างใด จากที่ทดลองมาสามารถใช้สปีดชัตเตอร์ได้ต่ำถึง 1/3 (ใช้กับเลนส์ Kits 14-42) หรือเทียบประมาณ 3 Stops โดยภาพไม่มีกันสั่น ซึ่งจะทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ ISO สูงๆ คุณภาพของภาพก็จะดีขึ้น
การ Process ภาพ JPEG จากกล้อง Olympus EPL-8 อยู่ในระดับกลางๆ สามารถปรับแต่งสีได้พอสมควร ซึ่งในสถานการณ์โหดๆ ตัวนี้สามารถถ่าย Raw ได้ช่วยให้อุ่นใจขึ้น
การเซลฟี่ก็สามารถทำทั้งในโหมด Auto โหมด P S A M และ โหมด SCN (เลือก e-Portrait) ซึ่งในโหมด Auto ก็สามารถเซลฟี่ได้ โดยตัวกล้องจะคำนวณค่าต่างๆให้ แต่ตัวกล้องจะไม่ปรับแต่งผิวให้ หากต้องการให้ตัวกล้องปรับแต่งผิวให้ ต้องเลือกโหมด e-Portrait ในโหมด SCN ซึ่งจะช่วยให้หน้าเนียนขึ้นพอสมควร
สำหรับการโฟกัสใบหน้า ก็เลือกเปิดได้เลยครับ ตัวกล้องจะโฟกัสให้ที่หน้าอัตโนมัติ จากที่ลองมาถือว่านิ่งและเสถียรมากๆ
โดยรวม Olympus EPL-8
เซ็นเซอร์ขนาด Micro Four Third แบบ Live MOS Sensor 16.1 ล้านพิกเซล
เซ็นเซอร์ขนาดไม่ได้ใหญ่มาก แต่ก็ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานทั่วไป ซึ่งแลกมากับการที่โฟกัสเร็ว และขนาดกล้องกับเลนส์ไม่ใหญ่มาก แต่ต้องบอกว่าเซ็นเซอร์ขนาดเล็กทำให้การใช้ ISO สูงๆ จะมี Noise หรือจุดๆรบกวนในภาพค่อนข้างเยอะ
จุดโฟกัส 81 จุด
การโฟกัสของกล้องตัวนี้อยู่ในระดับที่ค่อนข้างเร็ว สำหรับการใช้งานทั่วๆไปสามารถโฟกัสได้อย่างสบายๆ ที่สำคัญเมื่อใช้ร่วมกับจอสัมผัส ทำให้สามารถ Touch Focus ได้
หน้าจอระบบสัมผัสแบบพลิกลงด้านล่าง
ด้วยหน้าจอทัชสกรีนของ E-PL8 เป็นแบบพับลงด้านล่าง สามารถใช้แฟลชได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะบังหน้าจอ เวลาเซลฟี่ นอกจากนี้หน้าสัมผัสยังสามารถเลือกจุดโฟกัส และ Touch Shutter ข้อดีของจอแบบพลิกล่างคือ เวลาเราถ่ายวิดีโอตัวเอง ตาเราจะไม่มองขึ้นด้านลง
ถ่ายภาพต่อเนื่อง 8.5 fps
ใครที่ต้องการถ่ายสิ่งของที่เครื่องที่เร็วๆ ความเร็วของตัวนี้ถือว่าเหลือกินเหลือใช้
กันสั่นในตัวกล้อง 3 แกน
สิ่งที่โดดเด่นกว่ารุ่นอื่นในช่วงราคาเดียวกันนั้นก็คือระบบกันสั่นในตัวกล้องที่มีให้ถึง 3 แกน ทำให้สามารถลดภาพสั่นไหว (ภาพสั่น) ได้ประมาณ 3 Stops จาก Speed Shutter ปกติ เช่นเลนส์ช่วง 14 mm
วิดีโอ Full HD 30P
ความละเอียด Full HD (1920×1090) ด้วยเฟรมเรต 30 ภาพต่อวินาที ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานทั่วไป
เชื่อมต่อ Wi-Fi ผ่านแอพพลิเคชั่น Oi-Share
Oi-Share เป็นเแอพพลิเคชั่นที่มีทั้ง iOS และ Android สำหรับโหลดภาพจากตัวกล้องเข้าสมาร์ทโฟน ทำเป็นรีโมทชัตเตอร์ นอกจากนี้เรายังสามารถใส่ลายเซ็น ในภาพได้อีกด้วย
แบตเตอรี่
ตัวกล้องใช้แบตเตอรี่รุ่น BLS-50 โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้งานได้ประมาณ 350 ภาพถือว่าไม่มาก ไม่น้อย ใครที่ชอบถ่ายรูปเยอะๆ แนะนำให้ชื้อเพิ่มอีกสัก 1-2 ก้อนสบายใจกว่า ซึ่งรุ่นนี้ไม่สามารถชาร์จผ่าน Power Bank ได้
การเลือกซื้อเลนส์ตัวที่สอง
หากใครอยากได้เลนส์ที่สามารถทำหน้าชัดหลังเบลอเยอะได้เยอะๆ เพราะว่าเลนส์ Kits ที่ให้มาเบลอได้ไม่มากนัก ทีมงานขอแนะนำ 3 ตัวนี้สำหรับคนที่มีงบไม่สูงมากครับ
-
Olympus M.Zuiko 17mm f/1.8 เลนส์ระยะเทียบเท่า 35 mm รูรับแสงกว้าง สามารถทำหน้าชัดหลังเบลอได้ ระยะไม่ใกล้ไม่ไกลจนเกินไป ทำให้ไม่ต้องถอยไกลมาก และ สามารถถ่ายอาหารบนโต๊ะได้สบาย ราคาอยู่ที่ 19,990 บาท
-
Olympus M.Zuiko 25 mm f/1.8 เลนส์ระยะเทียบเท่า 50 mm สามารถทำหน้าชัดหลังเบลอได้สบาย ระยะช่วงกลางๆ สามารถถ่ายเจาะได้ ราคาอยู่ที่ 15,990 บาท
- Olympus M.Zuiko 45 mm f/1.8 เลนส์ระยะเทียบเท่า 90 mm เหมาะสำหรับถ่ายคน แล้วต้องการหน้าชัดหลังเบลอสวยๆ ข้อเสียคือมีระยะถอยที่ค่อนข้างไกล ราคาอยู่ที่ 12,990 บาท
สำหรับทีมงานแล้วกล้อง Olympus EPL-8 เป็นกล้องที่มีจุดเด่นอยู่ตรงที่ใช้งานค่อนข้างสนุก โฟกัสค่อนข้างเร็วมีกันสั่นทำให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆได้ง่ายดายมากขึ้น ที่สำคัญกว่านั้นดีไซน์ค่อนข้างมีเอกลักษณ์และมาในราคากลางราวๆ 24,990 บาท ใครที่มีงบประมาณนี้ สนใจกล้องที่ใช้งานสนุก ก็สามารถเข้าไปลองเล่นดูได้ที่ร้านตัวแทนจำหน่ายครับ
*รูปตัวอย่างผ่านการตบแต่ง
Olympus PEN EPL-8
24,990Pros
- มีกันสั่นภายในตัวบอดี้
- จอสัมผัสตอบสนองค่อนข้างดี
- เลนส์ในระบบของ Micro Four Thirds มีขนาดเล็ก และ มีให้เลือกหลากหลายราคา
- โฟกัสได้รวดเร็ว
- ลูกเล่นสำหรับมือใหม่ค่อนข้างเยอะ
Cons
- ไม่สามารถชาร์จผ่าน Power Bank ได้
- เลนส์ Kits ทำหน้าชัดหลังเบลอไม่ค่อยได้
- Noise ค่อนข้างมาก
- ไม่สามารถ่ายวิดีโอ Slow Motion ได้
- ราคาเปิดตัวค่อนข้างสูง