เมื่อคุณย้อนกลับไปในช่วง 4 ที่แล้ว ทาง Panasonic ได้เปิดตัวกล้อง Micro Four Thirds รุ่นนึงที่บอกเลยว่าคนที่ทำในงานวิดีโอสนใจมากๆ และใน Range พร้อมชุดเลนส์ ระดับไม่เกิน 100,000 บาท ก็ไม่มีตัวไหนสู้ได้เลยด้วยวิดีโอที่เราสามารถถ่ายวิดีโอ 4K 60 FPS 4:2:2 10 Bit บอดี้แข็งแรงแบบโหดมากๆ แต่ในวันนึง Lumix GH5 ก็ต้องบอกว่ามันไม่ได้แย่ แม้ว่าจะมี GH5s ที่เปิดตัวออกมาแล้วแต่ก็อยู่ใน Niche Market มากๆ และคู่แข่งดีขึ้นเรื่อยๆ ทาง Panasonic เลยทำการเปิดตัว Lumix GH5II ซึ่งตัวรุ่นต่อยอดจาก GH5 เดินที่พัฒนาให้ทันต่อโลกปี 2021
สำหรับคนที่สงสัยว่าแล้ว GH5II มันดีขึ้นในส่วนไหนบ้าง ทีมงานสรุปจุดเด่นสำคัญสั้น ๆ ตามนึ้ครับ
- สามารถถ่าย 4K 60 FPS ที่ 10 Bit ได้จากตัวเก่าได้แค่ 30 FPS
- มี V-Log ในตัวไม่ต้องชื้อเพิ่ม
- รองรับการ Live Streaming จากตัวกล้อง โดยไม่ต้องใช้สาย
- ระบบโฟกัสที่ดีขึ้นมากๆ แบบเห็นได้ชัด
- ชาร์จผ่านพอร์ต Type-C และสามารถใช้งานไปพร้อมกันได้
- ราคาเปิดตัวถูกกว่ารุ่นแรก
- เซนเซอร์ Live Mos ขนาด Micro Four Thirds 20.33 ล้านพิกเซล
- ISO 200-25600
- ถ่ายภาพต่อเนื่อง 12 FPS รองรับ 6K Photo, 4K Photo
- ระบบกันสั่น Dual IS 2 จำนวน 5 แกนในตัว ชดเชยได้สูงสุด 6.5 Stop
- หน้าจอสัมผัสพัดได้รอบทิศทางความละเอียด 1.84 ล้านจุด
- หน้าจอ EVF ความละเอียด 3.68 ล้านจุด 120 FPS
- ชัตเตอร์ 30-1/8000 วินาที
- ถ่านวิดีโอ 4K ได้ที่สูงสุด 60 FPS 4:2:2 10 Bit 400 Mbps
- ถ่ายวิดีโอ C4K ได้ที่สูงสุด 60 FPS 4:2:2 10 Bit 400 Mbps
- ถ่ายวิดีโอ 6K Anamorphic 50 FPS 4:2:0 10 Bit 200 Mbps
- ช่องเสียบ USB 3.1, HDMI Type-A ช่องเสียบหูฟัง, ไมค์โครโฟน
- ช่องเสียบ SD Card UHS-II 2 ช่อง
- น้ำหนัก 727 กรัม
บอดี้
โดยรวมรอบ ๆ ของ Panasonic Lumix GH5II นั้นต้องบอกว่าแทบจะเหมือนกับ GH5 ตัวแรกเลย เราสามารถใส่ Housing สำหรับดำน้ำตัวเดิมได้
ด้านหน้าของเจ้า Lumix GH5II จะมีปุ่ม Custom ปุ่มเปลี่ยนเลนส์ และ พอร์ทสำหรับ Sync กับแฟลช
ช่องมองภาพ EVF
ด้านหลังมาพร้อมกับปุ่มควบคุมที่ค่อนข้างเยอะตามสไตล์กล้องขนาดใหญ่ ที่จะเน้นในเรื่องการใช้งน สามารถใช้งานได้สะดวก ซึ่งในรุ่นนี้ก็มาพร้อมกับ Joy Stick เหมือนเดิม ช่วยเรื่องการปรับจุดโฟกัสได้มาก
เมื่อมองจากด้านบนนั้น จากซ้ายไปขวา จะเริ่มด้วย Drive Mode ที่เราใช้งานมีให้เลือกตั้งแต่ Single Shot หรือจะเป็น 6K Photo เอกลักษณ์ของพานาโซนิค และการตั้งเวลาต่าง ๆ ก็ปรับได้จากส่วนนี้ครับ
ถัดมาเป็น Hot Shoe สำหรับใส่แฟลช ที่เปลี่ยนโหมดต่างๆ สวิชเปิด-ปิด ด้านขวาสุดก็จะใล่ด้วยปุ่มชัตเตอร์ถ่ายภาพ, Dials ปรับ รูรับแสง ปุ่มปรับ White Balance, ISO, ชดเชยแสง และปุ่มอัดวิดีโอสีแดงเด่นเป็นสง่า ชอบมากๆ
นอกจากปุ่มยังมีไฟแสดงสถานะการทำงานทั้งตัวเครื่อง (สีเขียส) และระบบ Wireless ของตัวเครื่อง (สีฟ้า)
ด้านขวาตัวกล้องเป็นที่ใส่รีโมท 2.5 mm. และที่ใส่ SD Card 2 ช่อง
ด้านซ้ายมาพร้อมกับพอร์ตตั้งแต่ Microphone, หูฟัง, Full HDMI และ USB-C ซึ่งมีการแยกสัดส่วนการอย่างชัดเจน
ด้านล่างเป็นช่องใส่แบตเตอรี่ DMW-BLK22 ความจุ 2,200 mAh
เซนเซอร์
มาเริ่มกันด้วยที่เซนเซอร์ของเจ้าตัว Panasonic Lumix GH5II เป็นเซนเซอร์ Live Mos 20.3 ล้านพิกเซล ดูสเปคและตัวเลขอาจจะเหมือนรุ่นเก่า แต่ในความเป็นจริงแล้วเซนเซอร์ตัวนี้ได้ปรับปรุงมาพอสมควรเลยให้มี Performace ทั้งด้าน Noise และ Dynamic Range ดีขึ้นแบบชัดเจนเมื่อเทียบกับ GH5 ที่ทีมงานเคยใช้งาน
สำหรับข้อดีของเซนเซอร์ Micro Four Thirds นั้นคือชัดลึก ซึ่งเป็นผลดีกับงานวิดีโอที่เราไม่ได้ต้องการ DOF ที่บางเฉียบ และงานมาโครก็จะได้ประโยชน์ในส่วนนี้เช่นเดียวกัน
Noise Performance
GH5II ได้มีการพัฒนาให้ประสิทธิภาพในการจัดการ Noise ดีขึ้นครับ แม้จะไม่ได้โดดเด่นเท่า GH5S ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ แต่สำหรับเซ็นเซอร์ที่ไม่ได้ใหญ่มากอย่าง MFT ทีมงานได้ลองใช้งานด้วย ISO 6400 แม้จะเริ่มมี Noise แต่เรื่องสีและรายละเอียดต่าง ๆ ยังอยู่ครบ ในด้าน ISO 12800 สีเริ่มจะดร็อป และ ISO 25600 สีเริ่มมีความเพี้ยน รายละเอียดหายครับ
ถ่ายภาพต่อเนื่อง 12 FPS พร้อม 6K Photo
การถ่ายภาพต่อเนื่องของ Panasonic Lumix GH5II สามารถทำได้สูงสุด 12 FPS ทั้งใน Mechanic Shutter และ Electronic Shutter ซึ่งถ้าต้องการมากกว่านี้ ต้องใช้ตัวโหมด 6K Photo ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะใช้งาน 6K Photo 30 FPS หรือ 4K Photo ที่ 30 FPS, 60 FPS สามารถเลือกได้ โดยข้อจำกัดของโหมดนี้นั้นก็คือ จะสามารถถ่าย JPEG ได้อย่างเดียว
งานวิดีโอที่ตัวเก่าโหดแล้ว ตัวนี้โหดไปอีก
งานวิดีโอของ Panasonic Lumix GH5II นั้นเรียกได้ว่าก้าวไปอีกขั้นเลย เพราะสามารถถ่ายวิดีโอได้ล้ำขึ้นมากๆ แม้ว่าจะยังไม่ข้ามไปในระดับ 8K แต่ในมาตรฐานยุคนี้ก็ถือว่าเหลือต่อการใช้งาน ที่แตกต่างจาก GH5 จริงๆนั้นคือเรื่องเฟรมเรทที่ได้มากกว่า ในหลายๆรูปแบบจากตัวเก่าได้ อาทิ C4K หรือ 4K Anamorphic ที่ขึ้นไปได้ถึง 60 FPS หรือ 6K ที่ได้ถึง 10 bit รวมไปถึงมาตรฐาน 4K ทั่วไป ที่เมื่อก่อนถ้าเราถ่าย 60 FPS เราจะไม่ได้ 10 Bit ในการใช้งาน
รูปแบบที่สามารถเลือกได้ในมาตรฐานไฟล์ฟอร์แมต MOV
หรืองานที่ไม่ต้องการคุณภาพสูงที่สุด ก็มีทางเลือกในการบันทึกเป็น MP4 ก็จะสามารถเปิดไฟล์ได้ง่ายขึ้น รองรับการใช้งานทั่วไปตั้งแต่ Full HD ไปจนถึงระดับ 4K
งานวิดีโอจากเจ้าตัว Panasonic Lumix GH5II + เลนส์ 42.5 mm f/1.2 และ 8-18 mm File Format : MOV Rec Quality : C4K 4:2:2 10 Bit Long GOP
เรียกได้ว่าดีงามมาก ๆ ครับ ไฟล์ดี
ที่มา – ShutterAholic
แต่สำหรับคนที่อยากทราบว่าระหว่าง 10 Bit กับ 8 Bit ต่างกันอย่างไร อธิบายง่ายๆครับ คือการเก็บสีนั้นเอง โดย 8 Bit นั้นจะเก็บสีอยู่ที่ราว 16.7 ล้านสี ส่วน 10 Bit จะอยู่ที่ 1,000 ล้านสี การเก็บข้อมูลจะต่างกันพอสมควร ขนาดไฟล์ก็เช่นกัน อันนี้อยู่ที่ความจำเป็นในการใช้งานว่าต้องการใช้งานระดับไหน แต่สำหรับงาน Social การใช้งาน 8 Bit ก็เพียงพอครับ
นอกจากนี้ตัว Panasonic Lumix GH5II ยังสามารถ Internal Record พร้อมไปกับ External Record ไปได้ด้วยพร้อมกัน และสามารถกดบันทึกได้จนกว่าแบตเตอรี่ และ SD Card จะเต็มด้วย หรือ Unlimit Record แล้วก็สามารถถ่ายวิดีโอแนวตั้งได้
อย่างไรดีข้อจำกัดเมื่อคุณถ่ายไฟล์คุณภาพสูงคือ ต้องใช้การ์ดที่เป็น V90 โดยการ์ด V90 ที่จำหน่ายอย่างเป็นทางการในไทยตอนนี้มีแค่ 2 รุ่นเท่านั้น สามารถลองไปหากันในท้องตลาดได้
การไลฟ์สตรีมแบบไร้สาย สะดวกมาก!
ในตัว Panasonic Lumix GH5II นั้นจะเป็นกล้องตัวแรกๆ ที่เราสามารถทำการไลฟ์สตรียมผ่านระบบไร้สายของตัวกล้องได้ โดยการไลฟ์นั้นจะต้องมีสมาร์ทโฟนในการบังคับควบคุมตัวกล้องให้เราก่อน สำหรับการไลฟ์นั้น จะมีทางเลือกให้ทั้งหมด 3 รูปแบบดังนี้
- Live โดยตรงไปยัง Facebook
- Live โดยตรงไปยัง Youtube
- Live ผ่าน RTMP
ซึ่งหลักการทำงานคือ สมาร์ทโฟนสั่งงาน ตั้งค่าผ่านแอพพิเคชั่น Lumix Sync แต่ตัวกล้องจะเป็นตัวเชื่อมต่อไปยัง Rounter Wi-Fi สำหรับส่งสัญญาณภาพและเสียง โดยจากที่ไลฟ์มานั้น ต้องบอกว่าน่าสนใจมากเพราะมีความเสถียรสูงมาก ใช้งานง่าย ถ้าอินเตอร์เน็ตของคุณดี และไม่มีสัญญาณรบกวนที่มากนัก
Live Cropping แพนได้ด้วยเราอยู่นิ่งๆ
Live Cropping เป็นฟังก์ชั่นในการที่เราสามารถเลื่อนเฟรมได้ โดยหลักการคือการคร็อปจากตัวเซนเซอร์แล้วก็เลื่อนตั้งแต่จุดที่เราเลือก ไปยังจุดสิ้นสุด
ช่อง HDMI ขนาดใหญ่ ใช้ประโยชน์ได้ดี
บนตัวกล้อง Panasonic Lumix GH5II นั้นได้ให้ HDMI TypeA มา ทีมงานไม่มั่นใจเวอร์ชั่น แต่สามารถรองรับการส่งสัญญาณภาพ ได้สูงสุด 4:2:2 10 บิต เรียกได้ว่าเต็มประสิทธิภาพของกล้อง โดยสิ่งที่ทีมงานชอบมากสำหรับกล้องที่มี HDMI ขนาดปกติมาให้ เพราะมักจะเป็นสายที่มีความทนทานกว่า Mini หรือ Micro HDMI สามารถหาชื้อได้ง่ายกว่า และมีราคาที่ถูกกว่า
ฟีเจอร์อื่น ๆ ที่เพิ่มเข้ามาช่วยให้ถ่ายวีดีโอระดับมืออาชีพได้สะดวกมากขึ้น
- Waveform Monitor ตรวจสอบคุณภาพของสัญญาณ
- Luminance Spot สำหรับวัดแสง
- Lens Infomation จำเลนส์แม้จะไม่มีได้ Contact การเชื่อมต่อ
- Red Rec Frame Indicator ไฟแสดงสถานะในการอัด
- Streaming Blue Frame Indicator ไฟแสดงสถานะในการไลฟ์
โฟกัสที่โหดขึ้นมากๆ
ระบบโฟกัสของ Panasonic Lumix GH5II ตัวนี้ยังคงใช้ ระบบ Contrast AF เช่นเคย จำนวน 225 จุด DFD Tecnology ที่มีความแม่นยำและความเร็วสูง พร้อมเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) สำหรับการจดจำใบหน้า ดวงตา ศีรษะ และลำตัวของมนุษย์และสัตว์
โหมดโฟกัสมีให้เลือกหลากหลายมากๆ และขออธิบายเป็นข้อๆดังนี้
- โฟกัสบุคคล – สามารถเลือกว่าเป็นคน หรือสัตว์ได้
- โฟกัสแบบ Tracking
- โฟกัสแบบ All Area
- โฟกัสแบบ Zone (Vert/Horz) สามารถเลือกปรับขนาดได้
- โฟกัสแบบ Oval เป็นกลุ่ม
- โฟกัสแบบ 1 Area + โฟกัสแบบปกติแต่มีสองกรอบ ถ้ากรอบแรกโดนทับ หรือบังจะใช้กรอบสองแทน
- โฟกัสแบบ 1 Area โฟกัสแบบจุดปกติ
จากการใช้งานระบบโฟกัสของ GH5II ต้องบอกว่าปรับปรุงขึ้นมากๆ แต่ด้วยความที่ยังเป็นระบบ Contrast Detection ส่วนนี้ก็ต้องเรียกว่ามีข้อจำกัดอยู่ประมาณนึงครับ แต่ถ้าใช้งานทั่วไปก็บอกได้เลยว่าใช้งานได้สบายๆ
Focus Transition เลือก Mark จุดโฟกัสได้ สะดวกมาก!
Focus Transition เป็นการที่เราสามารถมาร์คจุดในการโฟกัสล่วงหน้าได้ ซึ่งมันจะช่วยเวลาเราทำงานได้ เพราะในหลายๆครั้งระบบโฟกัสก็ไม่ได้ดั่งใจเรา โดยเราสามารถเลือกมาร์คไว้ได้สูงสุด 3 จุดด้วยกัน
การตั้งค่านั้นเข้าไปที่ Focus Pull Setting เราสามารถเลือก Mask โฟกัสแต่ละจุดได้ โดยการ Mark นั้นเราต้องหมุนเพื่อมาร์คจุดเอาเอง
เวลาใช้งานนั้นก็กดจิ้มที่หน้าจอได้เลย ว่าเราต้องการจุดไหนตามตัวเลข
แบตเตอรี่ความจุ 2,200 mAh ชาร์จไปใช้ไปได้ด้วย PD Charge
แบตเตอรี่ของตัวนี้นั้นใช้รหัส DMW-BLK22 ความจุ 2,200 mAH จากการใช้งานนั้นก็ต้องบอกว่าเป็นแบตเตอรี่มาตรฐานในยุคปี 2021 ถ้าถามว่าทนไหม ก้ต้องบอกว่าไม่ต่างจากคู่แข่งครับในจุดนี้
สิ่งที่ผมชอบใช้งานและ Panasonic ได้พัฒนาส่วนนี้ขึ้นมาก็คือ การที่เราสามารถชาร์จไป แล้วใช้งานไปได้ โดยรองรับการชาร์จด้วยระบบ PD ก็นับว่าตอบโจทย์การใช้งานในยุคนี้
ระบบกันสั่น 5 แกน Dual IS 6.5 Stops
ระบบกันสั่นของเจ้าตัว Panasonic Lumix GH5II จะใช้ระบบ Dual IS 2 ซึ่งจะเหมือนกับตัวเดิม แต่ตัวนี้จะเพิ่มจาก 5.0 Stops เพิ่มมาเป็น 6.5 Stops เท่าที่ลองใช้งานก็สามารถทำงานได้ค่อนข้างประทับใจกับระบบกันสั่นของกล้องตัวนี้
ภาพที่ 12 mm Speed Shutter 1 วินาที
ภาพที่ 60 mm Speed Shutter 1.3 วินาที
ตัวอย่างระบบกันสั่นของตัวนี้ก็ต้องบอกว่าตามที่ทางพานาแจ้งไว้ในสเปคจริง ๆ สามารถกันสั่นได้ถึง 6.5 Stops
กันสั่นดิจิตอลเสริมพลังความเทพ
ในโหมดกันสั่นปกติตัวกล้อง เราสามารถเลือกปรับระบบกันสั่นได้เป็นแบบปกติ โหมด Panning ซ้าย/ขวา และ โหมด Panning ขึ้น/ลง
โดยสำหรับงานวิดีโอนั้นจะมีฟังก์ชั่น กันสั่นแบบดิจิตอลให้เลือกใช้งานในหลายรูปแบบการใช้งาน และล่างสุดเราสามารถเลือก Profile เลนส์ Manual (เลือก mm ของเลนส์) ได้อีกด้วย เพื่อประสิทธิภาพกันสั่นสูงสุด
Profile สีจัดเต็ม V-Log L ในตัว แถมตั้งพรีเช็ตเองได้อีก!
สำหรับ Profile นี้นั้นทาง Panasonic ก็มีให้เราเลือกค่อนข้างเยอะ พื้นฐานมีหมดครบ รวมไปถึงพวก L-Monochrome ก็มีมาให้ใช้งาน แต่สำหรับ Profile สีปกติคงไม่ใช่ประเด็นสำหรับกล้องตัวนี้ เพราะกล้องตัวนี้มี Profile สี V-Log L มาให้ในตัว หรือเรียกง่ายๆคือ Profile สำหรับการทำปรับแต่งสีนั้นเอง ซึ่งปกติแล้วใน GH5 นั้นจะต้องชื้อเพิ่มในราคา $99 หรือราว 3,000 ต้นๆ ตัวนี้มาให้ฟรีเลย
แต่พี่ผมชอบจริงๆ เราสามารถเช็ทเป็น Preset ได้ตามที่ต้องการ เราสามารถเลือกได้ตั้งแต่ Profile สีหลัก, Contrast, Highlight, Shadow, Salutation, Hue, Sharpness, Noise Reduction เรียกได้ว่าจบมากๆ สำหรับคนที่ต้องการปรับเยอะๆ
ช่องใส่การ์ด UHS-II 2 ช่อง มั่นใจหายห่วง
ช่องใส่การ์ดของ Panasonic Lumix GH5II จะสามารถใส่ได้แค่ SD Card เท่านั้น โดยมาตรฐานความเร็วสูงสุดจะได้ที่ UHS-II V90 สำหรับคนที่ถามว่าการ์ดธรรมดาสามารถใส่ได้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่าสามารถใส่ได้ครับ แต่ในการถ่ายภาพต่อเนื่อง หรือวิดีโอ ก็จะรองรับได้ไม่ดีเท่าพวก UHS-II V90 นั้นเอง
สำหรับโหมดการใช้งานของ Panasonic Lumix GH5II จะมีให้เลือกฟังก์ชั่นการทำงานของทั้ง 2 การ์ด ดังนี้
- Relay Rec – เวลาการ์ดแรกเป็นจะต่อการ์ด 2 ให้เลย
- Back Up Rec – ให้บันทึกไฟล์ลงเหมือนกันทั้ง 2 การ์ด
- Allocation Rec – ตั้งให้การ์ดใบแรก บันทึกวิดีโอ การ์ดที่ 2 บันทึกภาพนิ่ง
ระบบเลนส์ M4/3 ที่แข็งเกร่ง
เลนส์ในระบบ Micro Four Thirds ของ Panasonic มีให้เลือกมากถึง 29 ตัวในปัจจุบัน มีตั้งแต่ราคาหลักพัน จนคุณสูงอย่างตระกูล Panasonic Leica มีเลนส์ตั้งแต่ระยะ Fish Eye จนไปถึงเทียบเท่า 800 mm ก็มีให้เลือกค่อนข้างเยอะ ยังไม่นับรวมเลนส์จากค่ายข้างเคียง และเลนส์จาก Thirds Party ที่บอกว่ามีเลนส์ให้เลือกกันจุใจมากๆ
โดยรวมนั้นความประทับใจแรกก็คงเป็นที่เรื่องบอดี้ตัวกล้องที่แข็งแรง บึกบีน สามารถใช้งานได้อย่างสบายใจ ฟังก์ชั่นต่างๆก็มีปุ่มให้กดได้เลย ไม่ต้องไปนั่งหาภายในเมนูให้วุ่นวายเสียเวลา ฟังก์ชั่นการไลฟ์ไร้สายที่ใช้งานได้จริง และทำงานได้ไม่ยาก แม้ว่าจะมีข้อจำกัดบางสิ่งก็ตาม
แต่เรื่องที่ประทับใจมากๆคือเนื้อไฟล์งานวิดีโอที่แม้ว่าจะใช้งานในฟอร์แมตธรรมดา ไม่ได้ใช้สี 10 Bit ก็ให้ไฟล์ที่โครตดี และเพียงพอต่อการใช้งานมากๆ เนื้อไฟล์ รายละเอียดต่างๆในวิดีโอ สีที่ได้ออกมาบอกเลยประทับใจตั้งแต่ใช้งานครั้งแรก
ส่วนประกอบงานวิดีโอก็ให้มาไม่ได้แย่กว่ารุ่นอื่น พอร์ตครบ HDMI เป็นแบบเต็ม แบตเตอรี่ใช้งานยาวๆได้สบาย เสียบไปชาร์จไปได้ ภาพนิ่งอาจจะไม่ได้สุด แต่ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว เพราะใช้เซนเซอร์ที่ปรับปรุงใหม่ ประสิทธิภาพดีกว่าเดิมเข้าไปอีกครับ
รูปภาพตัวอย่างจาก Lumix GH5II
Panasonic Lumix GH5II + Panasonic Leica DG Nocticron 42.5mm f1.2
Panasonic Lumix GH5II + Panasonic Leica DG Nocticron 42.5mm f1.2 Panasonic Lumix GH5II + Panasonic Leica DG Nocticron 42.5mm f1.2 Panasonic Lumix GH5II + Panasonic Leica DG Nocticron 42.5mm f1.2 Panasonic Lumix GH5II + Panasonic Leica DG Nocticron 42.5mm f1.2 Panasonic Lumix GH5II + Panasonic Leica DG Nocticron 42.5mm f1.2
Panasonic Lumix GH5II + Panasonic Leica DG 12-60mm f2.8-4 ASPH. POWER O.I.S.
Panasonic Lumix GH5II + Panasonic Leica DG 12-60mm f2.8-4 ASPH. POWER O.I.S. Panasonic Lumix GH5II + Panasonic Leica DG 12-60mm f2.8-4 ASPH. POWER O.I.S. Panasonic Lumix GH5II + Panasonic Leica DG 8-18mm f2.8-4 ASPH
Panasonic Lumix GH5II + Panasonic Leica DG 8-18mm f2.8-4 ASPH Panasonic Lumix GH5II + Panasonic Leica DG 8-18mm f2.8-4 ASPH
Panasonic Lumix GH5II + Panasonic Leica DG Vario-Elmarit 50-200mm f/2.8-4 ASPH. POWER O.I.S.
Panasonic Lumix GH5II + Panasonic Leica DG Vario-Elmarit 50-200mm f/2.8-4 ASPH. POWER O.I.S. Panasonic Lumix GH5II + Panasonic Leica DG Vario-Elmarit 50-200mm f/2.8-4 ASPH. POWER O.I.S. Panasonic Lumix GH5II + Panasonic Leica DG Vario-Elmarit 50-200mm f/2.8-4 ASPH. POWER O.I.S.