เมื่อพูดถึงกล้องคุณภาพสูงกว่าสมาร์ทโฟน แล้วต้องการขนาดที่เล็ก ทุกคนมักหันไปมองกล้อง Comapct เซนเซอร์ 1 นิ้ว, Micro Four Thirds หรือกล้อง APS-C แต่สำหรับ Full Frame นั้นภาพจำของหลาย ๆ คน คงจะกล้องที่มีขนาดที่ใหญ่ เทอะทะ ไม่เพียงแค่กล้อง แต่เลนส์ก็มีขนาดที่ใหญ่เช่นเดียวกัน พอกระแสกล้องไร้กระจก หรือ Mirrorless เข้ามา โดยเฉพาะในตลาดเอเชีย ที่สรีระเล็กว่าฝั่งตะวันตก กล้องขนาดเล็กเริ่มได้รับความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งไปกับในตระกูล Sony A7 หรือ A9 ที่ทำให้กล้อง Full Frame ใช้สนุกมากยิ่งขึ้น แต่ในหลายๆครั้งตัวกล้องก็มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานระดับมืออาชีพ และนับได้เป็นเวลา 7 ปี หลังจากที่ A7 รุ่นแรกออก
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2020 Sony ได้เปิดตัวกล้อง Sony A7C กล้องฟูลเฟรมที่มีจุดเด่นที่สำคัญก็คือตัวกล้องมีขนาดที่ไม่ต่างจากกล้อง APS-C ของค่ายตัวเองอย่าง A6XXX เท่าไหร่มากนัก พร้อมอัพเกรดสเปคภายใน ในหลาย ๆ ด้าน
เมื่อพูดถึงตัวกล้อง Sony A7C นั้นด้วยขนาดที่เล็ก (แต่ประสิทธิภาพไม่ต่างจากรุ่นพี่) ทุกคนอาจจะมองว่าเป็นกล้องรุ่นเล็ก ที่น่าจะมาแทน Sony A7II รึเปล่า แต่จริงๆแล้ว Sony A7C มาเป็นตัวที่เทียบเท่ากับ Sony A7III ในทุกๆด้าน โดยเฉพาะด้านประสิทธิภาพ แค่ขนาดตัวเล็กลงเท่านั้น เจาะกลุ่มเป้าหมาย คนที่ถ่ายวิดีโอ, ถ่ายท่องเที่ยว และต้องการกล้องตัวเล็กๆ แต่ต้องการคุณภาพระดับฟูลเฟรม ซึ่งนับว่าเป็นประสบการณ์การใหม่อย่างแน่นอน
ราคา Sony A7C
- Sony A7C บอดี้ ราคา 61,990 บาท
- Sony A7C พร้อมเลนส์คิต 28-60 mm ราคา 72,990 บาท
สเปค Sony A7C
- เซนเซอร์ฟูลเฟรมความละเอียด 24 ล้านพิกเซล
- ระบบโฟกัสแบบ Real-Time AF
- ระบบกันสั่น 5 แกน
- ถ่ายภาพต่อเนื่อง 10 FPS
- วิดิโอ 4K HDR และ 1080P แบบ Slow Motion ที่ 120 FPS
- Profile สี HLG, S-Log2,3
- ไม่จำกัดเวลาถ่ายวิดีโอ
- หน้าจอฟลิปข้าง Vari Angle ขนาด 3 นิ้ว ความละเอียด 1.44 ล้านจุด พับได้รอบทิศทาง
- ระบบโฟกัส Phase Detection จำนวน 693 จุด และ Contrast Detection 425 จุด
- รองรับ Animal Eye-AF และ โฟกัสดวงตาขณะถ่ายวิดีโอ
- ช่องเสียบไมค์, ช่องเสียบหูฟัง
- บอดี้กันละอองนำ้ ละอองฝุ่น
- Wifi, NFC, Bluetooth
- Micro HDMI
- แบตเตอรี่รุ่น NP-FZ100
- SD Card 1 Slot
- น้ำหนัก 509 กรัม
- ขนาด 124 x 71.1 x 59.7 mm.
แรกสัมผัส
Sony A7C บอดี้เป็นแมกนีเชียมอัลลอย กันละอองน้ำละอองฝุ่นได้ สัมผัสแรกที่ผมรู้สึกได้นั้นก็คือเป็นกล้องที่มีงานประกอบที่แน่นหนา ผิวสัมผัสทำได้ดี ไม่มีความรู้สึกเป็นกล้องในระดับต้น ตัวที่ผมได้มานั้นเป็นสีเงินคล้ายๆ Sony A6400 แต่ได้การตัดสีแบบ TWO TONE เป็นเอกลักษณ์ของกล้อง A7C เลยก็ว่าได้ ส่วนสีดำก็จะได้ความดุดันมากกว่า
ตัวบอดี้มีขนาด 124 x 71.1 x 59.7 mm. น้ำหนัก 509 กรัมถือว่าเป็นกล้องฟูลเฟรมที่มีกันสั่นภายในตัวเบาที่สุดในโลก
เนื่องด้วยบอดี้ของ Sony A7C นั้นสามารถกันละอองน้ำ ละอองฝุ่นได้ เวลาเราเอาไปลุยก็สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่เลยไม่ต้องกังวล ทั้งนี้ก็ต้องบอกกันก่อนว่าการใช้งานลุยแบบนี้นั้น ต้องใช้คู่กับเลนส์ที่รองรับด้วยเช่นกัน เอาให้เมื่อใช้เสร็จก็ต้องมาดูแลกันสักนิดนึงครับ เช่นเช็คให้จนแห้ง ใส่ในตู้กันชื้น ทั้งนี้ถ้าหลีกเลี่ยงได้ ก็หลีกเลี่ยงดีกว่าครับ
*การโดนความชื้นไม่อยู่ในการรับประกัน 15 เดือน หากเสียหาย
สิ่งที่ปรับเปลี่ยนไปตรงนี้ก็คือ ปุ่ม Custom ทั้งหมด ออกไป แทนที่ด้วยปุ่มอัดวิดีโอแทน ซึ่งจะสะดวกมากสำหรับคนที่ชอบถ่ายวิดีโอตัวเอง เรียกได้ว่ากดขึ้นง่ายกว่าเดิมพอสมควร
แต่ทั้งนี้คนที่ไม่ได้ชื้อมาถ่ายวิดีโอเป็นหลักก็สามารถเปลี่ยนปุ่มอัดวิดีโอเป็นปุ่ม Custom อื่นๆได้ทั้งหมด
การจับถือนั้นต้องบอกว่ากริ๊ปดีขึ้นกว่า A6600 มีความลึกที่ดี สามารถจับได้โดยใช้แค่มือเดียว ไม่ต้องช่วยพยุงใดๆ เนื่องด้วยน้ำหนักของกล้องด้วย การควบคุมกล้อง ปุ่มต่างๆ ก็อยู่ด้านขวาหมด ทำให้ใครที่ต้องการใช้งานมือเดียวก็สามารถทำได้ สมกับที่ Sony นิยามออกมาว่า Full Frame in one hand
ด้านหลังนั้นต้องบอกว่าเหมือน Sony A6600 เลยแต่ได้ปรับผิวสัมผัส และกริ๊ปหลังให้ดียิ่งขึ้น ไล่มาตั้งแต่ EVF ขนาดเท่า A6600, ปุ่มปรับสายตา, ปุ่มเมนู, Dials สำหรับปรับค่าต่างๆ, ปุ่ม AF-ON ไว้เช็คการโฟกัส, ปุ่ม FN สำหรับเลือกฟังก์ชันที่ใช้งานบ่อยๆ
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงที่สุดคงเป็นเรื่องจอ จากที่หลายคนในบ่นใน Sony A7III ว่าสีจอค่อนข้างอมไปทางแดง แต่รุ่นนี้ได้แก้ปัญหานั้นไปที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมจอที่สามารถพับได้รอบทิศทาง ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อสายวิดีโอ รวมไปถึง Landscape มากๆ
ประโยชน์ของจอที่สามารถพับได้รอบทิศทาง
จอพับได้รอบทิศทาง เหมาะสำหรับการเซลฟี่
สิ่งที่ Sony ไม่ได้พูดถึงน่าจะเป็นก็คือจอสัมผัสของ Sony A7C นั้นดีกว่า Sony A7III และ Sony A6600 มี Response ที่ดีขึ้น แต่ยังน่าเสียดายที่ตัวเมนูยังไม่ได้รองรับการใช้งานจอสัมผัสแบบเต็มรูปแบบ รองรับเพียงแค่การจิ้มโฟกัสเท่านั้น และเมื่อเราใช้งานผ่านทาง EVF เราสามารถเอานิ้วมาเลื่อนจุดโฟกัสเวลาใช้งานได้ด้วย
พอร์ทที่ได้มาก็ต้องบอกว่าครบครันไล่จากบนลงล่าง เริ่มตั้งแต่ช่องเสียบไมค์โครโฟน ช่องเสียบ SD Card รองรับความเร็วระดับ UHS-II การที่เอาไว้ด้านซ้ายตรงบอกว่าตอบโจทย์เวลาเปลี่ยนการ์ด ( เมื่อเทียบกับ A6600 ที่ไว้ด้านล่าง) ถัดมาเป็นช่องเสียบหูฟัง, Micro HDMI และ USB-C
สิ่งที่ควรทราบก็คือ Sony A7C จะไม่สามารถเสียบขาตั้งเล็กๆของโซนี่แบบมีสายได้แล้ว ต้องมองเป็นรุ่นที่มี Bluetooth แทน
อีกหนึ่งจุดเด่นของ Sony A7C แม้ว่า Sony A7C จะมีขนาดไม่ได้ใหญ่มาก แต่ก็ใส่เจ้าตัว NP-FZ100 ทางโซนี่เครมว่าสามารถใช้งานได้ถึง 740 ภาพกันเลยทีเดียว และถ่ายวิดีโอได้ราว 140 นาที
FULL FRAME IS FULL FRAMAE
หลายคนที่ยังไม่มีความรู้ด้านเซนเซอร์นั้นก็ต้องบอกกันก่อนว่าเซนเซอร์ที่ใช้ในกล้องเปลี่ยนเลนส์ได้นั้นจะนิยมกันทั้งหมด 4 ขนาดดังนี้ โดยเรียงจากเล็กไปใหญ่
- Micro Four Thirds
- APS-C (Sony A6000, A5000 Series)
- Full Frame – ฟูลเฟรม (Sony A7, A9 Series)
- Medium Format
แต่ละขนาดเซนเซอร์ก็จะมีจุดเด่นจุดด้อยที่ต่างกันออกไป ยิ่งเซนเซอร์ใหญ่คุณภาพก็จะยิ่งดี แต่ก็แลกมากับขนาดกล้อง และเลนส์ที่ใหญ่มากยิ่งขึ้น ทำให้คนส่วนใหญ่มักจะจบที่ APS-C สำหรับกล้องถ่ายเล่น และ Full Frame สำหรับกล้องระดับมืออาชีพ เพราะว่าเป็นตรงกลางที่ที่สมดุลระหว่างคุณภาพกับน้ำหนักได้ดี
เซนเซอร์ระดับฟูลเฟรมนั้นข้อดีที่ทุกคนยอมรับเลยก็คือสามารถทำหน้าชัดหลังเบลอได้ง่าย ถ่ายที่แสงน้อยได้ดีมากๆ มิติภาพที่ดีกว่า เลนส์เมื่อใช้ระยะไหน ก็จะได้ระยะนั้นเลย (APS-C ต้องนำไปคูณ 1.5 อีกที)
ที่มาภาพ CameraSize.com
โดย Sony A7C นั้นเป็นกล้องที่เซนเซอร์ระดับ Full Frame ที่มีคุณภาพสูงมากระดับมืออาชีพใช้กัน แต่มีขนาดกล้องพอๆกับกล้องระดับ APS-C นั้นก็คือสามารถพกได้ง่าย ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นมากๆของกล้อง Sony A7C
จากการนำออกไปทดสอบนั้น ส่วนตัวแล้วใช้กล้อง Full Frame ค่ายเดียวกันอย่าง Sony A7III เป็นกล้องส่วนตัวอยู่แล้ว พบว่าคุณภาพด้าน Dynamic Range, Noise ต่างๆ แทบจะเหมือนกันเลย สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ Sony A7C ปรับปรุงชอร์ฟแวร์ให้ตัวภาพมีความใสขึ้นอีกระดับนึง ทำให้คนถ่ายรูปทั่วไป ที่ไม่เน้นใช้งาน Raw File น่าจะชอบมากยิ่งขึ้น
เลนส์ตัวใหม่ จิ๋วและแจ๋ว
เลนส์ Sony ตัวใหม่ที่เป็นเลนส์คิตให้ Sony A7C นั้นก็คือเลนส์ Sony FE 28-60 mm f/4-5.6 OSS สิ่งที่ผมชอบมากๆกับเจ้าตัวนี้ก็คือมีขนาดที่เล็กมาก เพียง 4.5 เซนติเมตร เท่ากับความยาวของกล่องหูฟัง AirPods Pro เท่านั้น
สเปคของตัวนี้ที่เน้นๆเลยคือสามารถถ่ายได้ใกล้สุด 0.3 เมตรที่ 28 mm และ 0.45 เมตร ที่ 60 mm. ใช้ฟิวเตอร์ขนาด 40.5 mm. เรื่องที่น่าเสียดายคืออยากให้เลนส์ตัวนี้ไวด์กว่านี้สำหรับงานวิดีโอ และเลนส์ตัวนี้ไม่ได้มีกันสั่น
คุณภาพเลนส์ Sony FE 28-60 mm f/4-5.6 หรือ SEL2860 ต้องบอกเลยว่าทำออกมาได้คมมากๆ คมกว่าตัวเก่าอย่าง 28-70 mm อย่างเห็นได้ชัดเจน ในขนาดที่เล็กกว่าเดิมครึ่งนึง ใครที่มีกล้อง Sony Full Frame อยู่แล้วเลนส์รุ่นนี้จะวางขายแยกในช่วงต้นปี 2021
ถ่ายวิดีโอ 4K คุณภาพเหมือนรุ่นพี่
Sony A7C นั้นสามารถถ่ายวิดีโอได้ความละเอียดสูงสุดที่ 4K 30 FPS และสำหรับคนที่ต้องการ Slow Motion นั้นก็สามารถบันทึกได้ 120 FPS ที่ Full HD สิ่งที่น่าสนใจก็คือ Sony A7C นั้นสามารถถ่ายได้แบบ No Limit Record Time หรือสามารถถ่ายได้ต่อเนื่อง จนกว่าแบตเตอรี่จะหมด หรือ เมมโมรี่จะเต็ม จากการที่ทีมงานลองอัดยาวๆ เกือบชั่วโมงก็ไม่มีอาการความร้อนขึ้นแต่อย่างใด
ด้านทางเลือกสีก็มีมาให้ครบเหมือนรุ่นอื่นๆทั้ง S-LOG รวมไปถึง HLG ซึ่งก็ต้องบอกว่าสำหรัคนทั่วไปนั้นใช้ Profile สี Standard เพียงพอแล้ว พอร์ทการต่ออยากได้อะไรก็มีมาให้ครบ
ถ่ายวิดีโอแนวตั้ง
ตั้งแต่ในช่วง TikTok ออกมา หลายๆคนก็อยากได้วิดีโอที่เป็นแนวตั้งบ้าง แล้วได้คุณภาพที่ดี Sony A7C ก็ยังสามารถตอบโจทย์การใช้งานในลักษณะนี้ออกมาได้
รัวต่อเนื่อง 10 FPS สูงสุด 223 ภาพ
เจ้าตัว Sony A7C นั้นรองรับการรัวเหมือน Sony A7III ที่ 10 FPS แต่น่าสนใจมากๆเลยก็คือตัวกล้อง Sony A7C มีระบบ Real-Time AF ทำให้เกาะทุกภาพไม่มีหลุด จากการลองรัวๆหลายๆครั้งนั้นต้องบอกว่าเกาะหนึบ และ ฉลาดกว่า Sony A7III อีกด้วย แล้วที่สำคัญสามารถใช้ในโหมด Silent Shutter ได้
ระบบโฟกัสแบบ Real Time AF…. เร็วขึ้นหน่อย แต่ฉลาดขึ้นอีกเยอะ
Sony A7C นั้นใช้ระบบโฟกัสแบบ Phase Detection 593 จุด ซึ่งต้องบอกว่าเร็วเป็นยี่ห้อต้นๆในตลาดแล้ว แถมยังรองรับการจับดวงตาทั้งคนละ สัตว์อีกด้วย เท่าที่ทดสอบการโฟกัส โดยเฉพาะการถ่ายแบบรัวๆนั้นต้องบอกว่าโฟกัสรวดเร็ว เข้าทุกใบ
แต่ที่ผมจับสังเกตุได้อย่างนึงก็คือ พอเป็นระบบ Real Time AF อย่างใน Sony A7C แล้วระบบโฟกัสจะฉลาดขึ้นพอสมควร เรื่องนึงที่น่าเสียดายมากๆก็คือ ในโหมดโฟกัสตา เราจะต้องเลือกว่าเราจะให้โฟกัสสัตว์ หรือ บุคคล ซึ่งในบางครั้งเราก็จะลืมเปลี่ยน
กันสั่น 5 แกนพร้อม Gyro Metadata
Sony A7C ภายในตัวบอดี้ที่หนักเพียงแค่ 509 กรัมนั้นยังคงมีระบบกันสั่น 5 แกนในตัวกล้องเช่นเคย ประสิทธิภาพจะดีขึ้นเมื่อเราใช้งานเลนส์ที่ไม่มีกันสั่น เช่นเลนส์คิคที่ให้มา หรือ เลนส์มือหมุนที่ไม่มีกันสั่นในตัวนั้นเอง แต่สิ่งที่แตกต่างจากรุ่นใกล้เคียงนั้นก็คือ Gyro Metadata
Gyro Metadata นั้นเริ่มเข้ามาตั้งแต่กล้อง Sony RX0II และเริ่มนำเข้ามาใช้จริงจังตั้งแต่กล้อง Sony ZV-1 เรื่อยมาจน Sony A7SIII และตัวล่าสุดที่รองรับก็คือ Sony A7C ระบบนี้เป็นชอร์ฟแวร์ภายในตัวกล้อง จับการเครื่อนไหวในแกนต่างๆ อย่างไรดีคนที่ต้องการใช้งานข้อมูล Gyro Metadata นั้นจะเป็นขั้นตอน Post Process แล้วต้องใช้โปรแกมที่รองรับอีกด้วย
โดยในในปัจจุบันโปรแกมที่รองรับรับก็คือ Sony Catalysis เป็นของโซนี่เอง และที่ผมลองแล้วใช้งานก็คือ Final Cut Pro (แต่โปรแกรม Sony เองจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า)
เมื่อเราเปิดไฟล์ในโปรแกม Sony Catalysis ก็จะพบว่าไฟล์ของ Sony A7C นั้นก็จะมีสัญลักษณ์กันสั่นอยู่ แสดงให้เห็นว่ามีข้อมูล Gyro อยู่ในไฟล์วิดีโอ
ชาร์จผ่าน PowerBank
ตัวกล้อง Sony ทุกๆรุ่นนั้นรองรับการชาร์จผ่านช่องเสียบในตัวกล้อง โดย Sony A7C นั้นจะเป็นรุ่นแรกที่ตัดพอร์ท Multi ออกไป เหลือไว้เพียงแค่ USB-C ซึ่งถือว่าเพียงพอและเหมาะสมกับกล้องในยุค 2020 แล้ว ทั้งนี้ตัวกล้องรองรับการเปิดกล้อง และ ชาร์จไปด้วยได้
ส่งภาพผ่าน Wi-Fi 5 GHz เร็วขึ้น ต่อง่ายขึ้น
ในกล้อง Sony A7C นั้นมีฟังก์ชันการเชื่อมต่อพิเศษ นั้นก็คือสามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนด้วยสัญญาณ Wi-Fi 5 GHz ได้ ซึ่งข้อดีของ Wi-Fi 5 GHz นั้นคือสามารถส่งรูปภาพหรือวิดีโอได้เร็วกว่ารุ่นเก่าๆ แถมยังมีความเสถียรกว่าเดิม เนื่องจากสัญญาณรบกวนน้อยกว่าเดิมนั้นเอง
ตัวโปรแกมที่ใช้นั้นก็ยังคงเป็น Sony Imagine Edge Mobile รองรับทั้งบน IOS และ บน Android
Silent Shutter…. ชัตเตอร์เงียบ
โหมด Silent Shutter (กล้อง 2 หน้า 5) เป็นโหมดสำหรับการถ่ายภาพแบบเงียบ หรือ ไม่มีเสียงเลย ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับคนถ่ายในสถานที่เงียบๆ ทั้งนี้ก็จะมีข้อเสียก็คือ ไม่สามารถเปิดโหมด Anti Flickr ได้ (ป้องการกันไฟกระพริบ) และที่น่าเสียดายอีกเรื่องก็คือ ไม่สามารถเปิดโหมดเงียบในโหมดวิดีโอได้ เวลากดปุ่ม Record ซึ่งในตอนนี้มีแค่ Sony A7SIII ที่ทำได้เท่านั้น เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากๆครับ
จุดโฟกัสเปลี่ยนสี ป้องกันการมองไม่เห็น
เปลี่ยนสีโฟกัสได้เป็นประโยชน์มากๆเวลาเราใช้งานในบริเวณที่มีความสว่างสูง การเปลี่ยนสีจุดโฟกัสได้ ให้เป็นสีแดง จะได้ชัดเจนขึ้น
ออกไปใช้
จุดเด่นที่ต้องบอกว่ากล้อง Sony A7C ที่โดดเด่นกว่าค่ายอื่นเลย นั้นก็คือเลนส์ใน System E-Mount มีกว่าราว 60 ตัว และ ยังมีของ Thirds Party ให้เลือกใช้อีกหลายยี่ห้อ เรียกได้ว่าเป็นยี่ห้อที่มีเลนส์มากที่สุดในตลาด มิลเลอร์เลสเลยก็ว่าได้
Portrait
Sony A7C + FE 35 mm f/1.8 Sony A7C + FE 35 mm f/1.8 Sony A7C + FE 35 mm f/1.8 Sony A7C + FE 35 mm f/1.8
Sony A7C + FE 35 mm f/1.8 Sony A7C + FE 28-60 mm f/4-5.6Sony A7C + FE 28-60 mm f/4-5.6 Sony A7C + FE 50 mm f/1.8 Sony A7C + FE 35 mm f/1.8
Landscape
ในส่วนของภาพ Landscape นั้นก็ต้องบอกว่ากล้อง Sony A7C มี Dynamic Range ที่ดี ไม่ต่างจาก Sony A7III เลย ภาพทั้งหมดนมีการแต่งภาพเล็กน้อย แต่จากไฟล์ JPEG สี Standard เลย (เนื่องจาก Raw File ยังเปิดไม่ได้)
Sony A7C + FE 16-35 mm f/4 Zeiss
กล้อง Sony A7C รองรับ Weather Sealed สามารถถ่ายในช่วงฝนตกได้สบายใจได้ประดับนึง ทั้งนี้ก็ไม่ได้แนะนำทำตามครับ เพราะตัวกล้องไม่มีการรับประกันหากน้ำเข้าตัวกล้องจากน้ำ
Sony A7C + FE 16-35 mm f/4 Zeiss Sony A7C + FE 16-35 mm f/4 Zeiss
FOOD
Sony A7C + FE 28-60 mm f/4-5.6 Sony A7C + FE 28-60 mm f/4-5.6 Sony A7C + FE 28-60 mm f/4-5.6 Sony A7C + FE 28-60 mm f/4-5.6 Sony A7C + FE 28-60 mm f/4-5.6
ทั่วไป
ในวันแรกที่ผมได้กล้องมา ผมเลยนำมาลองใส่กับเลนส์มือหมุนก่อนเลย แล้วใช้ฟังก์ชั่นช่วยเหลือทั้งหมด ทั้ง Focus Peaking และ Focuss Magnifier ซึ่งช่วยเหลือเยอะมากๆ เวลาใช้เลนส์มือหมุนที่รูรับแสงกว้างๆ เพราะมีโอกาสที่จะหลุดโฟกัสได้ง่ายมาก ใครที่ใช้เลนส์มือหมุน แล้วอยากได้กล้องฟูลเฟรมก็เป็นอีกทางเลือกครับ เพราะว่าตัวกล้องเล็ก เบา ไม่ต่างจากการใช้บอดี้ที่ใหญ่กว่านี้เลย
Sony A7C + 7Artisans 50 mm f/1.1 (M-Mount) Sony A7C + 7Artisans 50 mm f/1.1 (M-Mount) Sony A7C + 7Artisans 50 mm f/1.1 (M-Mount) Sony A7C + 7Artisans 50 mm f/1.1 (M-Mount) Sony A7C + FE 35 mm f/1.8
จะชื้อ Sony A7III หรือ Sony A7C ดีย์?
ต้องมีหลายคนที่เกิดคำถามนี้ขึ้นมา แล้วมักเป็นคำถามที่ตอบได้ยากพอสมควรเลยทีเดียว เนื่องจากมี Position ที่ใกล้กันมากๆ สเปคก็เหมือนกันอย่างกะแกะ แต่หากให้แยกใครเหมาะรุ่นไหนนั้นก็สามารถแยกได้ไม่ยากเลยครับ
- Sony A7C เหมาะสำหรับคนที่ชอบท่องเที่ยว/ สตรีท ต้องการกล้องเบาๆ คุณภาพสูงๆ หรือชอบในการถ่ายวิดีโอมากๆ เพราะฟังก์ชั่นวิดีโอไม่ต่างกัน แต่สามารถถ่ายวิดีโอได้ยาวๆ แบบไร้ขีด
- Sony A7III เหมาะสำหรับคนที่รับงาน ต้องการกล้องที่มีบอดี้ขนาดใหญ่ เพิ่มความน่าเชื่อถือ ชอบการที่มี Joystick รวมไปถึงถ้ามี SD Card 2 ใบจะมั่นใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น
เลนส์ที่แนะนำใช้กับ Sony A7C
กล้องตัวเล็กนอกจากเลนส์คิตที่มากับกล้องแล้ว เราก็ควรมีเลนส์อีกสักตัวในการถ่ายหน้าชัดหลังเบลอให้ง่ายขึ้น แต่จะใช้กับเลนส์ระดับ GMaster ก็คงไม่ใช่ (เพราะแอดมินเคยใช้แล้ว ไม่สมดุลเลย 😂😂) ทีมงานเลยอยากจะมาแนะนำที่เหมาะกับกล้อง Sony A7C ซึ่งส่วนใหญ่นั้นจะมีขนาดตัวที่เล็ก และราคาสามารถจับต้องได้
Sony FE 35 mm f/1.8 (22,990 บาท) เลนส์ขนาดพอดีกล้อง ระยะที่ได้มาในระดับไม่ต้องถอยเลย โฟกัสได้ใกล้เพียง 22 cm.
Sony FE 50 mm f/1.8 (10,990 บาท) เลนส์นอร์มอลสามัญประจำบ้านหลายๆคน ตัวนี้จุดเด่นเลยอยู่ที่ราคาจับต้องได้ที่สุดในกลุ่มฟูลเฟรม ขนาดเล็ก เบา โฟกัสใช้กับรุ่นเก่าอาจจะช้า แต่ถ้าใช้กับกล้องรุ่นใหม่ๆ ต้องบอกเลยว่าไม่แย่ ใครที่อยากได้กล้องที่เน้นหน้าชัดหลังเบลอ ชื้อบอดี้พร้อมเลนส์ตัวนี้ ก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลว
Sony FE 55 mm f/1.8 Zeiss (ราคา 32,990 บาท) แต่สำหรับคนที่มีงบขึ้นมานึดนึง ต้องการคุณภาพที่ดีขึ้น สีสันดีขึ้น อีกตัวที่อยากแนะนำเลยก็คือเลนส์ 55 mm f/1.8 Zeiss
โดยรวมแล้ว Sony A7C นั้นเป็นกล้องที่น่าใช้มากๆ เพราะขนาดกล้องตัวเล็ก ใช้สนุกมากๆ ปุ่มควบคุมเยอะพอตัว สิ่งที่ผมไม่ชอบมากๆกับกล้องเล็กทุกรุ่น ทั้งความช้าการทำงานในตัวกล้อง และ การควบคุม ประสิทธิภาพดีทั้งภาพนิ่ง วิดีโอ ระบบโฟกัส แน่นอนว่าไม่เจอกับ Sony A7C เป็นกล้องที่ทำได้เยี่ยมยอดจริงๆ
แต่ทุกอย่างข้อดีที่กล่าวมาก็มาพร้อมกับราคาที่อาจจะไม่ถูกใจคนหลายคน ราคาเปิดตัวบอดี้อยู่ที่ 61,990 บาท ถือว่าไม่ถูกหากมองจากขนาดบอดี้ แต่ถ้านับจากประสิทธิภาพ ความสนุกในงานใช้งาน ความสะดวกต่างๆที่ Sony A7C มอบให้ ก็อยากให้มองเป็นอีกทางเลือกนึง
ใครที่กำลังมองกล้อง Sony A7C อยู่ก็สามารถเข้ามาสอบถามได้ที่ Facebook ของเรา หรือที่ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการทั่วประเทศ รวมถึง Sony Store ทุกสาขา
สั่งชื้อ Sony A7C – Sony Store
สั่งชื้อ Sony A7C – Big Camera
สั่งชื้อ Sony A7C – Zoom Camera